ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของ Walls
Walls ได้กล่าวไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์จากกระบวนการของการคิดสิ่งใหม่ ๆ โดยการลองผิดลองถูก (Trial and Error) ได้แบ่งขั้นตอนไว้ 4 ขั้นคือ
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม (Preparation) เป็นขั้นเตรียมข้อมูลต่าง ๆ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำ หรือแนวทางที่ถูกต้องหรือข้อมูลระบุปัญหา หรือข้อมูลที่เป็นความจริง ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ขั้นความคิดครุกกรุ่น หรือระยะฟักตัว (Incubation) เป็นขั้นตอนที่อยู่ในความวุ่นวาย ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งใหม่และเก่าสะเปะสะปะ ปราศจากความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่สามารถขมวดความคิดนั้น
ขั้นที่ 3 ขั้นความคิดกระจ่างชัด (lllumination) เป็นขั้นที่ความคิดสับสนนั้นได้ผ่านการเรียบเรียงและเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้มีความกระจ่างชัดและสามารถมองเห็นภาพพจน์มโนทัศน์ของความคิด
ขั้นที่ 4 ขั้นทดสอบความคิดและพิสูจน์ให้เห็นจริง (Verification) เป็นขั้นที่ได้รับความคิด 3 ขั้นจากข้างต้น เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นความคิดที่เป็นจริงและถูกต้องหรือไม่
ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม (Preparation) เป็นขั้นเตรียมข้อมูลต่าง ๆ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำ หรือแนวทางที่ถูกต้องหรือข้อมูลระบุปัญหา หรือข้อมูลที่เป็นความจริง ฯลฯ
ขั้นที่ 2 ขั้นความคิดครุกกรุ่น หรือระยะฟักตัว (Incubation) เป็นขั้นตอนที่อยู่ในความวุ่นวาย ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งใหม่และเก่าสะเปะสะปะ ปราศจากความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่สามารถขมวดความคิดนั้น
ขั้นที่ 3 ขั้นความคิดกระจ่างชัด (lllumination) เป็นขั้นที่ความคิดสับสนนั้นได้ผ่านการเรียบเรียงและเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้มีความกระจ่างชัดและสามารถมองเห็นภาพพจน์มโนทัศน์ของความคิด
ขั้นที่ 4 ขั้นทดสอบความคิดและพิสูจน์ให้เห็นจริง (Verification) เป็นขั้นที่ได้รับความคิด 3 ขั้นจากข้างต้น เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นความคิดที่เป็นจริงและถูกต้องหรือไม่
สรูป (ตามความเข้าใจ)
Walls นั่นได้แบ่งทษฤฏีความคิดสร้างสรรค์ออกเป็น 4ขั้นซึ้งแต่ละขั้นก็จะมีความยากง่ายของแนวคิดต่างๆกันออกไป แต่ถ้าหากทำครบทั้ง4ขั้นตอนนั่นได้แล้วก็จะเข้าใจและเห็นความคิดสร้างสรรค์ ได้มากขึ้นหรือเพิ่มขึ้นจากที่เคยเข้าใจ เพราะหากเป็นืทฤษฏีของคนอื่น เช่น กิลฟอร์ด (Guilford, 1950) หรือ อี พอล ทอร์แรนซ์ (E. Paul Torrance,1962) ก็จะเป็นทฤษฏีที่สรูปมาเรียบร้อยและไม่เป็นขั้นเป็นตอนเหมือนกับของ Walls ขอยกตัวอย่างของทั้ง2ท่าน
1. กิลฟอร์ด (Guilford, 1950) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันบอกว่า
“ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองในการคิดหลายทิศทาง
ซึ่งมีองค์ประกอบความสามารถในการริเริ่ม
ความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด
และความสามารถในการแต่งเติมและให้คำอธิบายใหม่ที่เป็นการติดตามหลักเหตุผลเพื่อหาคำตอบ"
2. อี พอล ทอร์แรนซ์ (E. Paul Torrance,1962)
ให้นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่า
"เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา
หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น
ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น"